UA GitHub Pull Request Hackathon จัดในรูปแบบ Virtual Hackathon มีระยะเวลาการแข่งขัน 7 วัน เพื่อแก้ไขโปรเจคที่อยู่ใน GitHub ให้เป็น UA-Ready และเปิด Pull Request เพื่อแจ้งเจ้าของโปรเจค github
Universal Acceptance (UA) คือการที่แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ยอมให้เราใส่ชื่อโดเมนและชื่ออีเมลที่ถูกต้องตามกฎการตั้งชื่อเป็นภาษาใดก็ได้ และยังรวมไปถึงการตรวจสอบ, การประมวลผล, การจัดเก็บ และการแสดงชื่อนั้น อย่างถูกต้องด้วย
"เปลี่ยนโลกของ Web และ Application ไปกับ UA-Readiness"
ประกาศผลการแข่งขัน
รางวัลที่ 1
- kiznick
เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ Ergotrend รุ่น Ergo-X Black
รางวัลที่ 2
- mmc001
โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า Kiosk
รุ่น AL-160T(s)
รางวัลที่ 3
- Nananapatt0
- nongdark46
- 6110400106
- nopash
- 6110402818
Razer BlackWidow V3 Mechanical Keyboard
ความคิดเห็นจากกรรมการ
• ได้เห็นไอเดียการเขียน Regular Expression ที่หลากหลายทั้งแบบสั้นและยาวจากนักพัฒนาชาวไทย
• ผู้ที่ชนะมีการวางแผนที่ดี จากการเลือก PR กับ Repo ที่มี stars เยอะๆ ทำให้คะแนนเพิ่มแบบทวีคูณทิ้งขาดคู่แข่ง
• PR ที่ถูกเปิดในการแข่งขันครั้งนี้ มีตั้งแต่กับ Repo เล็กๆ จนไปถึง Repo ใหญ่ระดับโลก
• บาง PR สามารถผ่าน test case เบื้องต้นไปได้ แต่ยังไม่ flexible มากพอสำหรับ test case อื่นๆ
เช่น การเขียน RegEx ที่ระบุค่า max {2,20} ทั้งที่อาจมีชื่อที่ยาวกว่า 20 characters ได้ ดังนั้นควรเป็น {2,}
• การเขียน RegEx ให้ครอบคลุมภาษาไทย เราเจอทั้งแบบ \u0E00-\u0E7F และ ก-๛
• RegEx ที่ครอบคลุมพยัญชนะและสระทุกตัวในภาษาไทยคือ ก-๛ (หลายคนคิดว่าจบที่ ๙)
• การมาตรวจและตัดสินการแข่งขันในครั้งนี้ กรรมการเองก็ได้ความรู้กลับไปเช่นกัน
กรรมการ
วรัทธน์ วงศ์มณีกิจ
Chief Product Officer
WISESIGHT (THAILAND) CO., LTD.
สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน
• Technical Coach และ Software Craftsman, บจก.สยามชำนาญกิจ
• เจ้าของและคอลัมนิสต์ TECH BLOG, SOMKIAT.CC
จิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ
• Tech Evangelist - LINE Thailand
• Google Developers Experts in Firebase
ภาพกิจกรรม
วันที่ 18 กันยายน 2564
ประกาศผลการแข่งขัน: กรรมการร่วมกันตัดสินผลการแข่งขัน GitHub Pull Request Hackathon: .ไทย Universal Acceptance
วันที่ 9 กันยายน 2654
เปิดกิจกรรมออนไลน์ GitHub Pull Request Hackathon: .ไทย Universal Acceptance กรรมการทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ คุณวรัทธน์ วงศ์มณีกิจ, คุณสมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน และคุณจิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ มาร่วมพูดคุยอธิบายโจทย์กติกาการแข่งขัน, เกณฑ์การให้คะแนน และให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้สมัครเข้าแข่งขันอีกด้วย
รับสมัคร
แข่งขัน Hackathon
ประกาศผลการแข่งขัน
สมัครเข้าร่วม Hackathon
โจทย์/กติกาการแข่งขัน
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันเลือก project ใน GitHub ที่มีการใช้ชื่อโดเมนหรือชื่ออีเมล เพื่อสร้าง branch สำหรับแก้ไข
- การแก้ไขต้องทำให้ project นั้นเป็น UA-Ready สามารถรับ, ตรวจสอบ, ประมวลผล, จัดเก็บ และแสดงผลชื่อโดเมนและอีเมล ในภาษาท้องถิ่นและ new gTLD ได้อย่างถูกต้อง
- การทดสอบผลการแก้ไขต้องใช้ รายชื่อ โดเมนและอีเมลที่กำหนดโดย UASG เพื่อทดสอบ และเปิด Pull Request (เพื่อ notify project maintainers)
- ส่งหมายเลข Pull Request และผลการทดสอบตามช่องทางที่กำหนด⠀⠀ (รายละเอียดจะแจ้งภายหลัง)
- หาก Pull Request นั้นนำไปสู่การ Merge Pull Request โดย project maintainers ให้ส่ง ผลการ Merge ตามช่องทางที่กำหนด (รายละเอียดจะแจ้งภายหลัง)
-
คะแนนในการแข่งขันจะคำนวนจากจำนวน Pull Request และ จำนวนการ Merge Pull Request รวมทั้งความสำคัญของ project ที่เลือกมาแก้ไข
(รายละเอียดจะแจ้งภายหลัง) - ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด และผ่านการพิจารณา จะได้รับรางวัล และประกาศนียบัตร
FAQ
UA GitHub Hackathon คืออะไร
กิจกรรมจัดขึ้นที่ไหน
เริ่มกิจกรรมเมื่อไหร่
มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
สามารถส่งงานเป็นทีมได้หรือไม่
ทำงานเป็นทีมได้ หรือทำร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่
สามารถส่ง Pull Request ได้กี่คำขอ
สามารถส่ง Pull Request จากการแก้ไข project ของตัวเองได้หรือไม่
สามารถส่ง Pull Request จากหน่วยงานได้หรือไม่
ถ้ามีข้อสงสัยจะสอบถามได้ที่ใด
ใช้ภาษาอะไรได้บ้าง
ธีมของ Hackathon คืออะไร
ถ้ามีการเพิ่ม Pull Request อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ในระหว่าง Hackathon จะเป็นอย่างไร
มีเงื่อนไขของคำขออะไรบ้าง
- เป็น public และ open sourced
- สร้างระหว่างช่วงเวลาการแข่งขัน
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นเจ้าของคำขอ
- มี commit history ที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นเจ้าของ
- สอดคล้องกับธีมของ Hackathon คือ .ไทย Universal Acceptance